การตีบท

การตีบท โดยใช้ภาษาท่า

“การตีบทหรือการรำทำบท หรือการรำใช้บท และรำทวนบท” การตีบทหรือการรำทำบท หรือการรำใช้บทหมายถึง การรำตามบทร้อง บทพากย์และบทเจรจา โดยใช้ภาษาท่า ภาษานาฏศิลป์ และภาษาโขน เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจสอดคล้องตามเนื้อร้อง จังหวะและทำนองเพลง วิธีการฝึกหัดการตีบท ผู้แสดงจำเป็นจะต้องศึกษาบทโขน หรือบทละครให้ถ่องแท้ถึงบทบาทหน้าที่ของตัวละคร และตีความหมายของบทโขนหรือบทละครให้เข้าใจ รวมทั้งการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวละครด้วยเช่น บทโขน “ตอนนางลอย” ซึ่งเป็นบทของทศกัณฐ์กับนางเบญกาย บทโขนตอนนี้เป็นบทของทศกัณฐ์ที่ต้องการจะตัดสินศึกมิให้พระรามยกกองทัพมากรุงลงกา จึงคิดอุบายสั่งให้นางเบญกายแปลงกายเป็นนางสีดา ทำเป็นตายลอยน้ำไปที่หน้าพลับพลาของพระราม เมื่อพระรามลงสรงคงคาเห็นว่า นางสีดาตายแล้วก็จะได้เลิกทัพกลับไป ทศกัณฐ์ก็จะได้หมดความทุกข์ร้อน ตามบทในเพลงสร้อยเพลง เพลงทองย่อนและเพลงเขมรปากท่อ มีเนื้อร้องดังนี้ (กรมศิลปากร, ๒๕๓๙ : ๑)

เพลงสร้อยเพลง

เมื่อนั้น องค์ท้าวทศพักตร์ยักษา

ทุกข์ร้อนถอนฤทัยไปมา ตรึกตราถึงสงครามลักษณ์

ครั้งนี้ทีศึกเห็นใหญ่หลวง จะลุล่วงลงกาอาณาจักร

จำจะคิดตัดศึกที่ฮึกฮัก ให้เลิกไปไม่พักต้องต่อตี

เพลงทองย่อน

จึงตรัสสั่งเบญกายกลับยา จงแปลงเป็นสีดามารศรี

ทำตายลอยไปในวารี จนถึงฉนวนท่าพลับพลาชัย

เมื่อพระรามลงสรงคงคา จะคิดว่าเมียรักตักษัย

เห็นจะล่าเลิกทัพกลับไป เราจะได้สิ้นทุกข์สุขสำราญ

เพลงเขมรปากท่อ

เมื่อนั้น เบญกายร้อนใจดั่งไฟผลาญ

จำเป็นทูลตอบให้ชอบการ ตัวหลานไม่ขัดพระบัญชา

แต่ซึ่งจะจำแลงแปลงอินทรีย์ ข้านี้นึกภวังค์กังขา

ด้วยองค์ภควดีสีดา ไม่เห็นว่ารูปร่างเป็นอย่างไร

จะเห็นได้ว่าบทนี้เป็นบทสัมพันธ์ ระหว่างทศกัณฐ์กับนางเบญกายผู้เป็นหลาน ดังนั้นนางเบญกายจะเข้าเฝ้าทศกัณฐ์ก็จะตีบทตามบาทบาทของตน ให้สัมพันธ์กับทศกัณฐ์ นอกจากนี้ผู้แสดงจะต้องร้องเพลงทองย่อนให้ได้ เพื่อจะได้รำได้สอดคล้อกับเนื้อร้อง และทำนองเพลงที่มีดนตรีรับ ดังจะเห็นตัวอย่างต่อไปนี้

ท่ารำ

ส่วนการทวนบท จะพบการรำฉุยฉายส่วนใหญ่ เช่นรำฉุยฉายเบญกาย(กรมศิลปกร , ๒๔๙๑ : ๙๗)ซึ่งมีบทร้องดังนี้

เพลงตระบองกัน

บทร้องฉุยฉายเบญกายแปลง

“ฉุยฉายเอย จะเข้าไปเฝ้าเจ้าก็กรีดกราย

เยื้องย่างเจ้าช่างแปลงกาย ให้ละเมียดละม้ายสีดานงลักษณ์

ถึงพระรามเห็นทรามวัย จะฉงนพระทัยให้อะเหลื่ออะหลัก

งามนักเอย ใครเห็นพิมพ์พักตร์ก็จะรักจะใคร่

หลับก็จะฝันครั้นตื่นก็จะคิด อยากจะเห็นอีกซักนิดหนึ่งให้ชื่นใจ

งามคมดุจคมศรชัย ถูกนอกทะลุในให้เจ็บอุรา

“การตีบทหรือการรำทำบท หรือการรำใช้บท และรำทวนบท” การตีบทหรือการรำทำบท หรือการรำใช้บทหมายถึง การรำตามบทร้อง บทพากย์และบทเจรจา โดยใช้ภาษาท่า ภาษานาฏศิลป์ และภาษาโขน เพื่อสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจสอดคล้องตามเนื้อร้อง จังหวะและทำนองเพลง วิธีการฝึกหัดการตีบท ผู้แสดงจำเป็นจะต้องศึกษาบทโขน หรือบทละครให้ถ่องแท้ถึงบทบาทหน้าที่ของตัวละคร และตีความหมายของบทโขนหรือบทละครให้เข้าใจ รวมทั้งการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวละครด้วยเช่น บทโขน “ตอนนางลอย” ซึ่งเป็นบทของทศกัณฐ์กับนางเบญกาย บทโขนตอนนี้เป็นบทของทศกัณฐ์ที่ต้องการจะตัดสินศึกมิให้พระรามยกกองทัพมากรุงลงกา จึงคิดอุบายสั่งให้นางเบญกายแปลงกายเป็นนางสีดา ทำเป็นตายลอยน้ำไปที่หน้าพลับพลาของพระราม เมื่อพระรามลงสรงคงคาเห็นว่า นางสีดาตายแล้วก็จะได้เลิกทัพกลับไป ทศกัณฐ์ก็จะได้หมดความทุกข์ร้อน ตามบทในเพลงสร้อยเพลง เพลงทองย่อนและเพลงเขมรปากท่อ มีเนื้อร้องดังนี้ (กรมศิลปากร, ๒๕๓๙ : ๑)

เพลงสร้อยเพลง

เมื่อนั้น องค์ท้าวทศพักตร์ยักษา

ทุกข์ร้อนถอนฤทัยไปมา ตรึกตราถึงสงครามลักษณ์

ครั้งนี้ทีศึกเห็นใหญ่หลวง จะลุล่วงลงกาอาณาจักร

จำจะคิดตัดศึกที่ฮึกฮัก ให้เลิกไปไม่พักต้องต่อตี

เพลงทองย่อน

จึงตรัสสั่งเบญกายกลับยา จงแปลงเป็นสีดามารศรี

ทำตายลอยไปในวารี จนถึงฉนวนท่าพลับพลาชัย

เมื่อพระรามลงสรงคงคา จะคิดว่าเมียรักตักษัย

เห็นจะล่าเลิกทัพกลับไป เราจะได้สิ้นทุกข์สุขสำราญ

เพลงเขมรปากท่อ

เมื่อนั้น เบญกายร้อนใจดั่งไฟผลาญ

จำเป็นทูลตอบให้ชอบการ ตัวหลานไม่ขัดพระบัญชา

แต่ซึ่งจะจำแลงแปลงอินทรีย์ ข้านี้นึกภวังค์กังขา

ด้วยองค์ภควดีสีดา ไม่เห็นว่ารูปร่างเป็นอย่างไร

จะเห็นได้ว่าบทนี้เป็นบทสัมพันธ์ ระหว่างทศกัณฐ์กับนางเบญกายผู้เป็นหลาน ดังนั้นนางเบญกายจะเข้าเฝ้าทศกัณฐ์ก็จะตีบทตามบาทบาทของตน ให้สัมพันธ์กับทศกัณฐ์ นอกจากนี้ผู้แสดงจะต้องร้องเพลงทองย่อนให้ได้ เพื่อจะได้รำได้สอดคล้อกับเนื้อร้อง และทำนองเพลงที่มีดนตรีรับ ดังจะเห็นตัวอย่างต่อไปนี้

ท่ารำ

ส่วนการทวนบท จะพบการรำฉุยฉายส่วนใหญ่ เช่นรำฉุยฉายเบญกาย(กรมศิลปกร , ๒๔๙๑ : ๙๗)ซึ่งมีบทร้องดังนี้

เพลงตระบองกัน

บทร้องฉุยฉายเบญกายแปลง

“ฉุยฉายเอย จะเข้าไปเฝ้าเจ้าก็กรีดกราย

เยื้องย่างเจ้าช่างแปลงกาย ให้ละเมียดละม้ายสีดานงลักษณ์

ถึงพระรามเห็นทรามวัย จะฉงนพระทัยให้อะเหลื่ออะหลัก

งามนักเอย ใครเห็นพิมพ์พักตร์ก็จะรักจะใคร่

หลับก็จะฝันครั้นตื่นก็จะคิด อยากจะเห็นอีกซักนิดหนึ่งให้ชื่นใจ

งามคมดุจคมศรชัย ถูกนอกทะลุในให้เจ็บอุรา

เพลงแม่ศรี

แม่ศรีเอย แม่ศรีรากษสี

แม่แปลงอินทรีย์ เป็นแม่ศรีสีดา

ทศพักตร์มลักเห็น จะตื่นเต้นในวิญญาณ์

เหมือนล้อเล่นให้เป็นบ้า ระอาเจ้าแม่ศรีเอย

อรชรเอย อรชรอ้อนแอ้น

เอวขาแขนแมน แม้นเหมือนกินรี

ระทวยนวยนาฏ วิลาสจรลี

ขึ้นปราสาทมณี เฝ้าพระปิตุลาเอย

แม่ศรีเอย แม่ศรีรากษสี

แม่แปลงอินทรีย์ เป็นแม่ศรีสีดา

ทศพักตร์มลักเห็น จะตื่นเต้นในวิญญาณ์

เหมือนล้อเล่นให้เป็นบ้า ระอาเจ้าแม่ศรีเอย

อรชรเอย อรชรอ้อนแอ้น

เอวขาแขนแมน แม้นเหมือนกินรี

ระทวยนวยนาฏ วิลาสจรลี

ขึ้นปราสาทมณี เฝ้าพระปิตุลาเอย

หมายเหตุ ให้นักเรียนเลือก มา 1 เพลง

ทดสอบรูปภาพจากpicasa

<table style=”width:194px;”><tr><td align=”center” style=”height:194px;background:url(https://picasaweb.google.com/s/c/transparent_album_background.gif) no-repeat left”><a href=”https://picasaweb.google.com/116336666867448327067/OzAtu?authuser=0&feat=embedwebsite”><img src=”https://lh5.googleusercontent.com/-Z79vevd94H4/TkYbuUrmlaE/AAAAAAAAABw/wLomPmxULOk/s160-c/OzAtu.jpg&#8221; width=”160″ height=”160″ style=”margin:1px 0 0 4px;”></a></td></tr><tr><td style=”text-align:center;font-family:arial,sans-serif;font-size:11px”><a href=”https://picasaweb.google.com/116336666867448327067/OzAtu?authuser=0&feat=embedwebsite&#8221; style=”color:#4D4D4D;font-weight:bold;text-decoration:none;”>ครูลักษณ์</a></td></tr></table><embed type="application/x-shockwave-flash" src="https://picasaweb.google.com/s/c/bin/slideshow.swf&quot; width="400" height="267" flashvars="host=picasaweb.google.com&hl=th&feat=flashalbum&RGB=0x000000&feed=https%3A%2F%2Fpicasaweb.google.com%2Fdata%2Ffeed%2Fapi%2Fuser%

แหล่งเรียนรู้บ้านดอนแก้ว ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน

ประวัติและความเป็นมา

จากคำบอกเล่าและประมวลจากเอกสารทางวิชาการบางส่วนกล่าวว่าในราวประมาณ พระเจ้าประดุง  กษัตริย์พม่ายกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมี

พระยากาวิละ  เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ไว้ทั้งสี่ด้านพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงทราบข่าวศึก  จึงส่งกองทัพไปช่วยทำให้กองทัพพม่าที่ล้อมเมืองเชียงใหม่แตกพ่ายหนีไปซ่อมสุมกำลังอยู่ในเมืองเชียงแสน

ในปีต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2346  กองทัพไทยจึงยกทัพไปล้อมกองทัพพม่าที่เมืองเชียงแสนคำ  ขณะเดียวกันกองทัพจากเมืองลำปาง  เมืองน่าน  เมืองเชียงใหม่ และกองทัพเมืองเวียงจันทร์ก็ยกกองทัพมารีเมืองเชียงแสนด้วยกันรวมห้ากองทัพ  กองทัพทั้งห้าล้อมเมืองเชียงแสนอยู่เป็นเวลานาน  จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2347  ราษฎรไทยในเมืองเชียงแสนขาดเสบียงอาหาร  ผู้คนอดอยากต้องฆ่าช้าง  ม้า  วัว  ควายกินเกือบหมดสิ้น  ราษฎรไทยจึงพากันเปิดประตูเมืองรับกองทัพไทย  ทหารไทยฆ่าฟันพม่าแตกหนีออกจากเมืองเชียงแสนไปจนหมดสิ้น  ทหารไทย  ได้รื้อกำแพงเมืองเผาบ้านเรือนเพื่อมิให้เป็นที่อยู่อาศัยและซ่อมสุมกำลังของพวกพม่าได้ต่อไป  จากนั้นได้อพยพครัวเรือนของชาวเชียงแสนโดยจัดแบ่งออกเป็นห้าส่วนโดยแบ่งให้ไปกับกองทัพเมืองเชียงใหม่  เมืองน่าน  เมืองลำปาง  เมืองเวียงจันทร์  และกองทัพเมืองหลวง  กองทัพละหนึ่งส่วน   ดังนั้นชาวเชียงแสนจึงต้องเดินทางอพยพครอบครัวไปอยู่ตามเมืองดังกล่าว

สันนิษฐานว่าครอบครัวชาวเชียงแสน หรือชาวไท– ยวน  ที่ติดตามกองทัพเมืองน่านมานั้น  เมื่อเห็นสถานที่ลุ่มแม่น้ำน่านส่วนไหนที่เหมาะสมก็จะลงหลักปักฐานตั้งบ้านเรือนเป็นแห่งไป  เช่น   บ้านดอนแก้ว  ตำบลป่าคา  อำเภอท่าวังผา   บ้านดอนแท่น  อำเภอเชียงกลาง   บ้านผาขวาง  ตำบลบ่อ  อำเภอเมืองน่าน  บ้านสวนตาล

อำเภอเมืองน่าน  บ้านน้ำครกใหม่  ตำบลกองควาย  อำเภอเมืองน่าน  ฯลฯ   หมู่บ้านดังกล่าวนี้จะใช้ภาษาพูดเป็นภาษาไท-ยวนเชียงแสน เช่นเดียวกัน  สำหรับบ้านสวนตาล  ซึ่งอยู่ในอำเภอเมืองน่านในปัจจุบันนี้ไม่พูดภาษาไท-ยวนเชียงแสน   เพราะถูกภาษาเมืองน่านกลืนไปจนหมดสิ้นจากคำบอกเล่าจากพ่ออักษร  อินต๊ะวิน   ผู้อาวุโสบ้านดอนแก้ว เล่าว่า             ได้รับคำบอกเล่าจากพระครูบาอภิวงศ์   อภิวังโส (ครูบาพร้อย)  เจ้าอาวาสวัดดอนแก้ว (พ.ศ. 2470)  เล่าว่า เมื่อขบวนอพยพมาถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน  ตรงที่อยู่ของบ้านดอนแก้วปัจจุบัน  เห็นบริเวณพื้นที่ตรงนี้กว้างขวางเหมาะสมที่จะตั้งบ้านเรือนได้  จึงกำหนดจัดตั้งบ้านเรือนขึ้น  ประกอบกับระหว่างการเดินทางมีแมวตัวหนึ่งชื่อ  “แมวพร้อย”  เป็นแมวที่สามารถนำทางและให้โชคลาภ  ให้การช่วยเหลือนำโชคมาให้อยู่เนือง ๆ  จะคอยวิ่งวนเวียนขีดข่วนพื้นดินบริเวณนี้เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่า  ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้จะดีเหมาะสมทั้งระหว่างทางและที่อยู่ใหม่  ในตอนกลางคืนเมื่อมีโจรผู้ร้ายมารบกวน   แมวตัวนี้จะกระโจนขีดข่วนทำร้ายโจรผู้ร้าย  จนต้องหนีไปหลายครั้ง  ทำให้ชาวบ้านเกิดความปลอดภัยเพราะแมวดังกล่าว  ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือเป็นแมวนำโชค  เมื่อมีการตั้งชื่อหมู่บ้าน  จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อแมวว่า  “บ้านพร้อย”   เมื่อแมวตัวนี้ตายลง  ชาวบ้านก็ช่วยกันจัดทำศพให้แมวให้เหมาะสม  แล้วนำไปฝังไว้ใต้ต้นไม้  ซึ่งอยู่บริเวณหน้าวัดดอนแก้ว   ปัจจุบันนี้ต้นไม้ดังกล่าวได้แห้งตายไปแล้ว  เวลาต่อมา  ครูบาพร้อย  ฝันว่า  มีลูกแก้วใสมีแสงสว่างลอยมาจากนภากาศ  แล้วลงมาในกุฏิวัดพร้อย  เมื่อท่านตื่นขึ้นมาก็มีแก้วดังกล่าวจริง  จึงได้ใช้ผ้าขาวห่อลูกแก้วนี้ไว้และเพื่อให้เป็นศิริมงคลแก่หมู่บ้าน  จึงได้เปลี่ยนชื่อจากบ้านพร้อย  เป็น “บ้านดอนแก้ว”  ตามชื่อลูกแก้วนี้ภายหลังลูกแก้วดังกล่าวได้กลับหายไป  และในตอนกลางคืนจะมีผู้เห็นลูกแก้วดังกล่าวลอยวนเวียนที่วัดนี้เสมอ ชาวบ้านจึงได้ใช้ชื่อ  “บ้านดอนแก้ว”  มาจนถึงปัจจุบัน