ศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดหนองบัว ตำบลป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน

ประวัติวัดหนองบัว
วัดหนองบัวเป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว ต. ป่าคา อ. ท่าวังผา จ. น่าน จากคำบอกเล่าไว้เดิมวัดหนองบัวตั้งอยู่ที่ริมหนองบัว (หนองน้ำประจำหมู่บ้าน) ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งวัดปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร ปัจจุบันไม่มีซากโบราณสถานเหลืออยู่เลย ต่อมาได้มีการย้ายวัดมาที่ปัจจุบันนี้ วัดหนองบัวสันนิษฐานว่า สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2405 โดย การนำของครูบาหลวงสุนันต๊ะร่วมกับชาวบ้านหนองบัวสร้างขึ้น จึงทำให้วิหารหนองบัวแห่งนี้ เป็นสถาปัตยกรรมไทยล้านนาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งหาดูได้ยากมากในสมัยนี้ และพระวิหารหนองบัวแห่งนี้ยังมีจิตรกรรมฝาผนังแบบโบณาณที่สวยงามอีกด้วย
ประวัติ วัดหนองบัวและประวัติจิตรกรรมไม่มีหลักฐานบันทึกไว้ การสืบประวัติจะต้องอาศัยข้อมูลจากสองทางด้วยกันคือ สืบจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่และสืบจากการสังเกตจากรายละเอียดที่แสดงไว้ ในภาพเขียน
   การสืบประวัติจากคำบอกเล่า ท่านพระ ครูมานิตย์บุญการ หรือ ครูบาปัญญา ผู้เป็นชาวบ้านหนองบัวโดยกำเนิดถือว่าเป็นผู้รู้ท่านหนึ่งได้เล่าไว้ว่านาย เทพผู้เป็นบิดาของท่านได้เป็นทหารของเจ้าอนันต๊ะยศ เจ้าผู้ครองนครน่านในขณะนั้น( เจ้าอนันต๊ะยศ ครองเมืองน่านเมื่อ พ.ศ.2395 –2434 )ต่อมานายเทพได้ติดตามทัพไปรบที่เมืองพวนซึ่งเป็นเมืองในแคว้นหลวงพระบาง หลังจัดการศึกเรียบร้อยแล้วจึงยกทัพกลับเมืองน่าน นายเทพได้นำช่างเขียนลาวพวนชื่อว่า ทิดบัวผัน มาเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วัดหนองบัวแห่งนี้ โดยมีพระภิกษุวัดหนองบัวชื่อ แสนพิจิตร และนายเทพเป็นผู้ช่วยเขียนเสร็จ

   การสืบประวัติจากรายละเอียดของจิตรกรรม ภาพเรือกลไฟและรูปทหารชาวฝรั่งที่ผนังด้านทิศเหนือเป็นสิ่งที่สามารถ นำมาประเมินอายุของจิตรกรรมได้ ตามประวัติของเรือกลไฟว่าเรือกลไฟมีแหล่งกำเนิดในยุโรปและอเมริกา ในประเทศไทยมีหลักฐานในจดหมายเหตุหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีเรือ กลไฟใช้ตั้งแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสันนิษฐานว่าช่างเขียนคงเห็นและนำแบบมาเขียนไว้ และยังมีรูปปืนยาวแบบฝรั่งคือมีดาบติดปลายปืนด้วย เดิมคนไทยรู้จักใช้ปืนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา รูปแบบปืนมีปลายกระบอกยาวแต่ไม่ปรากฏว่ามีดาบปลายปืน ปืนที่ตัดดาบปลายปืนเป็นแบบฝรั่งที่นำมาใช้แพร่หลายในประเทศไทยสมัยรัชกาล ที่ 4 ถึง รัชการที่ 5 เป็นต้นมา จึงประเมินอายุจิตรกรรมว่าคงอยู่ในราวสมัย รัชการที่ 4 ถึง รัชการที่ 5
   เรื่องราวในจิตรกรรม ได้แก่เรื่อง จันทคาธชาดก และเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งเรื่องจันทคาธชาดกนี้ เป็นนิยายคติธรรมเก่าแก่อันดับที่ 11 ใน หนังสือ ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค ชาวบ้านในภาคเหนือเรียกว่า ค่าวธรรม จันทคาชาดก เป็นนิทานธรรมที่สอนให้กุลบุตรและกุลธิดาเอาแบบอย่างจริยธรรมที่ดีงามเช่น การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์สุจริต และความเมตตากรุณาเป็นต้น
   สิ่งสะท้อนจากภาพจิตรกรรม จิตรกรรม ฝาผนังทุกแห่งย่อมมีคุณค่าในแง่ของการเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็น อยู่ของผู้คนสมัยนั้น โดยเฉพาะความเป็นชาวบ้าน ซึ่งมีลักษณะเรียบง่าย โดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัวแห่งนี้ได้ทำหน้าที่สะท้อนความเป้นอยู่ของ ผู้คนสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ภาพจิตรกรรมฝาผนังจึงเสมือนเปิดโอกาศให้คนดูได้จินตนาการได้อย่างกว้างไกลทำ ให้รู้สึกเพลิดเพลินสนุกสนาน ใจคอเบิกบานชอบกล สิ่งสะท้อนจากภาพเขียนที่เห็นได้ชัดคือการแต่งกาย โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล หรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม และปัจจุบันยังเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของชาวไทลื้ออีกด้วย

Hello world!

Welcome to WordPress.com. After you read this, you should delete and write your own post, with a new title above. Or hit Add New on the left (of the admin dashboard) to start a fresh post.

Here are some suggestions for your first post.

  1. You can find new ideas for what to blog about by reading the Daily Post.
  2. Add PressThis to your browser. It creates a new blog post for you about any interesting  page you read on the web.
  3. Make some changes to this page, and then hit preview on the right. You can always preview any post or edit it before you share it to the world.